ราคาของเพชรขึ้นอยู่กับอะไร ?

ราคาของเพชรขึ้นอยู่กับอะไร ?

ราคาของเพชรขึ้นอยู่กับ 4 คุณลักษณะหรือ 4Cs นั้นก็คือ

1. กะรัต (CARAT) หรือ น้ำหนักของเพชร
2. สี (COLOR) หรือที่คนไทยแรกน้ำ
3. ตำหนิ (CLARITY) หรือความสะอาดของเพชร
4. การเจียระไน (CUT)

เครดิตภาพจาก GIA.

1. กะรัต (CARAT) หรือ น้ำหนักของเพชร

เครดิตภาพจาก GIA.

Carat (กะรัต) คือ หน่วยวัดที่ใช้ในการชั่งน้ำหนักเพชร โดยเพชร 1 กะรัต จะมีน้ำหนักเท่ากับ 0.2 กรัม และมีค่าเท่ากับ 100 สตางค์ ซึ่งหากเป็นเพชรที่มีน้ำหนักน้อยกว่า 1 กะรัต มักจะนิยมเรียกเป็นตัง เช่น เพชร 0.30 กะรัต ก็จะนิยมเรียกว่าเพชร 30 ตัง หรือ 30 สตางค์ กะรัตจึงเป็นปัจจัยเดียวใน 4C ที่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนที่สุด เพราะต้องใช้เครื่องช่างที่มีความเที่ยงตรงเป็นพิเศษในการบ่งบอกน้ำหนักที่มีความละเอียดสูง

โดยทั่วไปเพชรที่มีขนาดใหญ่กว่า น้ำหนักกะรัตมากกว่า ย่อมหาได้ยากกว่า จึงมักมีราคาที่สูงกว่า เพราะยิ่งเพชรมีขนาดใหญ่เท่าไร ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นในอัตราก้าวกระโดด ไม่ได้สูงขึ้นแบบแปรผันตรงอย่างที่หลายท่านอาจเข้าใจผิด

แต่ขนาดของเพชรอย่างเดียวก็ไม่สามารถบอกราคาที่ชัดเจนได้หากแต่ต้องระบุ อีก 3 อย่างเพิ่มไปด้วยนั้นก็คือ สี ,ความสะอาด,การเจียระไน 

 

ตัวอย่าง ความรู้พื้นฐานการคิดราคาจาก กะรัตเพชร

สำหรับการวัดน้ำหนักเพชรทุกเม็ดบนโลกนี้ จะมีกฎตายตัวอยู่เพียง 2 ข้อ

    1. น้ำหนักเพชรนั้นวัดด้วยหน่วย กะรัต เสมอ

ตัวอย่าง: หากเพชร 0.5 กะรัต (50 ตัง) มีราคากะรัตละ 90,000 บาท นั่นแปลว่าราคาของเพชรเม็ดนั้นจะเท่ากับ 90,000 บาท * 0.5 กะรัต = 45,000 บาท ต่อเม็ดนั่นเอง

  1. ราคาของเพชร ต่อกะรัต จะเพิ่มขึ้น เมื่อเข้าสู่ ช่วงลำดับขั้น ที่สูงขึ้น

ซึ่งคล้ายกับการซื้อรถยุโรป ที่ยิ่งคุณเพิ่มออปชั่นมากเท่าไร ราคาก็จะยิ่งสูงขึ้นมากเท่านั้น จนคุณอาจจะถอยรถญี่ปุ่นได้อีกคัน

เพราะฉะนั้น ราคาเพชรจะเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณไปพร้อมกับน้ำหนักกะรัต เนื่องจากราคาจะเพิ่มขึ้น นั้นมาจาก น้ำหนักเพชรที่เพิ่มขึ้น บวกกับ ราคาต่อกะรัตที่สูงขึ้น

เกร็ดความรู้: เพชร 1 ตัง = 0.01 กะรัต

2. สี (COLOR) หรือที่คนไทยแรกน้ำ


 

      โดยจะเริ่มจากใสไม่มีสี ไปจนถึงสีเหลืองที่เริ่มเข้มขึ้นเรื่อยๆ หลักจำง่ายๆคือ “ยิ่งขาว ราคายิ่งสูง”  ซึ่งใช้สัญลักษณ์ อักษรภาษาอังกฤษเริ่มตั้งแต่ D จนถึง Z ซึ่ง D มีความใสไร้สีมากที่สุด หรือคนไทยจะเรียกแทน D ว่า “น้ำ” เช่น น้ำ 100, น้ำ 99, น้ำ 98 เป็นต้น
ดูอย่างง่ายๆจะถูกแบ่งกลุ่มคร่าวๆดังนี้
 

กลุ่มที่ 1 : D, E, F   จัดอยู่ในหมวดเพชรใส ไม่มีสี (Colorless)
กลุ่มที่ 2 : G, H      จัดอยู่ในหมวดเพชรเกือบไร้สี มีติดนวลเล็กน้อย (Near Colorless)   คือมองด้วยสายตาคนปกติ จะเห็นว่าเพชรยังขาวใสอยู่
กลุ่มที่ 3 : I, J         จัดอยู่ในหมวดเพชรติดนวลมากขึ้น (Near Colorless Slightly Tinted)
กลุ่มที่ 4 : K, L, M  จัดอยู่ในหมวดเพชรติดเหลืองอ่อนๆ (Faint Yellow)
กลุ่มที่ 5 : N-R       จัดอยู่ในหมวดเพชรติดเหลือง (Very Light Yellow)
กลุ่มที่ 6 : S-Z       จัดอยู่ในหมวดเพชรเหลือง(Yellow)
กลุ่มที่ 7 : เป็นเพชรแฟนซี (Fancy)

สีเพชรที่ไม่แนะนำให้เลือกซื้อสักเท่าไร คือกลุ่มที่เริ่มติดนวลมากขึ้นคือ กลุ่มที่ 3 เป็นต้นไป คือ I, J, K

ส่วนกลุ่มที่ 2 (G, H) จะติดนวลซึ่งตลาดแถบอเมริกาและยุโรป จะนิยมมากกว่า ส่วนตลาดเอเชียนั่นจะชื่นชอบเพชรกลุ่มสีขาว (D, E, F) เป็นพิเศษ

วิธีดูสีเพชร แบบง่ายๆ นำเพชร 2 เม็ดมาเทียบกัน คว่ำหน้าเพชรลงบนกระดาษสีขาว ใช้ไฟแสงสีขาว เอียงกระดาษ ประมาณ 45 องศา สังเกตุสีที่แตกต่างกัน

 

แต่สีของเพชรอย่างเดียวก็ไม่สามารถบอกราคาที่ชัดเจนได้ หากแต่ต้องระบุ อีก 3 อย่างเพิ่มไปด้วยนั้นก็คือ น้ำหนัก,ความสะอาด,การเจียระไน 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

เครดิตภาพจาก GIA.

 

 

 

 

3. ตำหนิ (CLARITY) หรือความสะอาดของเพชร

 

ตำหนิ (CLARITY) หรือความสะอาดของเพชร
  การจัดเกรดจะขึ้นอยู่กับว่าตำหนิ เห็นได้ชัดหรือไม่ มีจำนวนมากหรือน้อย ขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ และตำหนินั้นมีผลกระทบกับตัวเพชรมากน้อยเท่าไร
โดยจำแนกตามหลักสากลได้ดังนี้
1. FLAWLESS (FL) : เพชรที่ไม่มีตำหนิหรือมลทินใดๆในทั้งเนื้อเพชรและผิวของเพชร เมื่อมองภายใต้กล้องขยาย 10 เท่า

 

2. INTERNALLY FLAWLESS (IF) : เพชรที่ไม่มีตำหนิภายในเนื้อเพชรเลย เมื่อมองภายใต้กล้องขยาย 10 เท่า

 

3. VERY VERY SLIGHTLY INCLUDED (VVS1, VVS2) : เพชรที่มีตำหนิในเนื้อเพชรน้อยมากๆ ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะต้องใช้กล้องกำลังขยาย 10 เท่าส่องจึงจะเห็น
จำแนกออกเป็น 2 ระดับ หากตำหนิน้อยมากจะใช้ VVS1 หากตำหนิที่สามารถเห็นได้ชัดมากขึ้นจะใช้ VVS2

 

4. VERY SLIGHTLY INCLUDED (VS1, VS2) : เพชรที่มีตำหนิในเนื้อเพชรน้อย ไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า จะต้องใช้กล้องกำลังขยาย 10 เท่าส่อง จึงจะเห็น

 

5. SLIGHTLY INCLUDED (SI1, SI2) : เพชรที่มีตำหนิ ที่สามารถมองเห็นได้ ภายใต้กล้องกำลังขยาย 10 เท่าและบางกรณีสามารถเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่จะมีขนาดที่เล็กซึ่งอาจจะต้องสังเกต

 

6. INCLUDED (I1, I2, I3) : เพชรที่มีตำหนิ ที่สามารถเห็นด้วยตาเปล่าได้อย่างชัดเจน

 

สิ่งที่สำคัญที่ต้องหลีกเลี่ยง เวลาซื้อเพชร คือ
1. เพชรที่มีตำหนิค่อนข้างมาก (ตั้งแต่ SI1 ถึง I3)
2. เพชรที่มีตำหนิขึ้นหน้า คือสามารถมองเห็นจาก ด้านบนของหน้าเพชร
3. เพชรที่มีไฝดำหรือในใบเซอร์อาจเรียกว่า “Crystal”

แต่ความสะอาดของเพชรอย่างเดียวก็ไม่สามารถบอกราคาที่ชัดเจนได้ หากแต่ต้องระบุ อีก 3 อย่างเพิ่มไปด้วยนั้นก็คือ น้ำหนัก,สี,การเจียระไน

 

4. การเจียระไน (CUT)

เครดิตภาพจาก GIA.

    การเจียระไน (CUT)  บอกถึงรูปร่าง และอัตราส่วนของเพชรเม็ดนั้นๆ เพชร จะสวยไม่สวยสิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับการเจียระไน โดยการเจียระไนเพชรทรงกลมที่นิยมมากที่สุด คือ การเจียระไนแบบ บริเลี่ยน (Brilliant Cut) ซึ่งเป็นรูปแบบสากลในตลาดการค้าขายอัญมณี และเป็นการเจียระไนที่สูญเสียเนื้อเพชรน้อยที่สุด และทำให้เพชรมีไฟสวยที่สุด โดยมีรูปทรงต่างๆ เช่น ทรงกลม (Round), ทรงสี่เหลี่ยม (Princess), รูปทรงไข่ (Oval), ทรงเม็ดข้าวสาร หรือ ทรงมาคีส์ (Marquise), ทรงหัวใจ (Heart), ทรงหยดน้ำ (Pear), ทรงเหลี่ยมมรกต (Emerald), ทรงหมอน (Cushion), ทรงเรเดียน (Radiant) และทรงแฟนซี

การคัดเกรดการเจียระไน โดยจัดระดับคุณภาพตามเพชรกลม (Round Brilliant) จะแบ่งเป็น 5 ระดับ

1.Excellent (EX)
2.Very Good (VG)
3.Good (G)
4.Fair (F)
5.Poor (P)

โดยมีคุณสมบัติ 4 ประการที่จะต้องพิจารณา และสมควรเลือกเป็น 3Excellent กับอีกหนึ่ง None ในใบรับรองเพชร คือ
1. CUT GRADE (เหลี่ยมเพชร) : EXCELLENT
2. POLISH (การเจียระไน) : EXCELLENT
3. SYMMETRY (สัดส่วนของเพชร) : EXCELLENT
หรือที่เรามักคุ้นเคยกันดี ที่เรียกกันว่า 3EX
และคุณสมบัติสุดท้าย ที่ต้องดูคือ
4. FLORESCENCE (ประกายสีฟ้าอมม่วง) โดยมีการจัดระดับ 5 ระดับคือ None, Faint, Medium, Strong และ Very strong ซึ่งในการซื้อเพชร เราควรจะเลือก None คือไม่มีประกายฟ้าอมม่วงเลย

    จากภาพด้านล่าง จะเห็นได้ว่า หากเพชรมีสัดส่วนการเจียระไนที่ไม่ดีแล้ว การกระจายแสงหรือประกายของเพชรก็จะไม่สวยเท่ากับเม็ดที่เจียระไนที่ได้สัดส่วนที่สมบูรณ์

เครดิตภาพจาก GIA.

ตัวอย่าง ภาพด้านบน  เพชร 3 เม็ดนี้ มีความแตกต่างกันที่การเจียระไน
ซึ่งสังเกตได้ว่า เพชรสวยหรือไม่ ดูจากการเจียระไนที่ดี ซึ่ง เม็ดซ้ายสุด จะมีประกาย และการสะท้อนของแสงที่ชัดเจนมีความสมดุลกัน มีระดับการเจียระไนแบบ Excellent (EX), เม็ดกลาง เป็นการเจียระไนระดับ Good (G) และเม็ดขวามือ เจียระไนแบบ Poor (P)

 

แต่การเจียระไนของเพชรอย่างเดียวก็ไม่สามารถบอกราคาที่ชัดเจนได้ หากแต่ต้องระบุ อีก 3 อย่างเพิ่มไปด้วยนั้นก็คือ น้ำหนัก,ความสะอาด,สี